Wednesday, December 19, 2012

นกกินเปี้ยว (Collared Kingfisher)

นกกินเปี้ยว
ชื่อภาษาอังกฤษ: Collared Kingfisher; ชื่อวิทยาศาสตร์: Todiramphus chloris

นกกินเปี้ยว @ สมุทรสาคร ประเทศไทย

นกกินเปี้ยว
มีสีขนปกคลุมหัว หลัง ปีก และหางเป็นสีฟ้า ท้องและแถบรอบคอเป็นสีขาว ปากสีดำขนาดใหญ่ นกกินเปี้ยวพบได้ทั่วไปตามพื้นที่แนวชายฝั่งทะเล โดยเฉพาะบริเวณป่าชายเลน

นกกินเปี้ยวตัวนี้กำลังเกาะอยู่บนแนวไผ่ชลอคลื่น ที่ชาวบ้าน ต.โคกขาม อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ร่วมมือกันปักไว้เป็นแนวยาว เพื่อป้องกันไม่ให้คลื่นทะเลกัดเซาะแนวชายฝั่ง แนวไผ่ดังกล่าวช่วยป้องกันการกัดเซาะได้เป็นอย่างดี และยังช่วยเพิ่มตะกอนดินบริเวณหลังแนวไผ่อีกด้วย ซึ่งชาวบ้านโคกขามได้ร่วมมือกันปลูกป่าชายเลนเพิ่มเติมในบริเวณดังกล่าว เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่งให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น (เยี่ยมจริง ๆ ครับ)


บริเวณนี้ยังเป็นที่ตั้งของ ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 2 (จ.สมุทรสาคร) กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ทำหน้าที่คอยดูแลป่าชายเลนตั้งแต่จังหวัดฉะเฉิงเทรา สมุทรปราการ กรุงเทพฯ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม จนไปถึงจังหวัดเพชรบุรี  

Nikon V1 + FT1 + 300mm
กล้อง Nikon V1 เมื่อต่อกับ FT1 Adapter สามารถนำเลนส์  F-mouth มาต่อร่วมกันได้ มีข้อดีคือ จะทำให้ทางยาวโฟกัสของเลนส์เพิ่มขึ้นเป็น 2.7 เท่า เนื่องจากค่า Crop Factor ของกล้อง Nikon V1 เท่ากับ 2.7 และไม่กระทบต่อค่า F-number ของเลนส์ เพราะไม่มีการสูญเสียแสงใน FT1 Adapter

ภาพนี้ถ่ายด้วยกล้อง Nikon V1 + FT1 + TAMRON 70 - 300 VC Di USD 4.0-5.6 ที่ความยาวโฟกัส 300mm จึงทำให้ความยาวโฟกัส (Effective Focal Length) กลายเป็น 810mm (2.7 x 300mm)

No comments:

Post a Comment