Friday, November 22, 2013

นกกระเต็นหัวดำ (Black-capped Kingfisher)

นกกระเต็นหัวดำ
ชื่อภาษาอังกฤษ: Black-capped Kingfisher; ชื่อวิทยาศาสตร์: Halcyon pileata

นกกระเต็นหัวดำ @ กรุงเทพ ประเทศไทย

นกกระเต็นหัวดำ (นกกะเต็นหัวดำ) Black-capped Kingfisher
นกกระเต็นหัวดำ (นกกะเต็นหัวดำ) มีลักษณะ หัวสีดำ มีปากและขาสีแดงสด (ปากใหญ่อีกต่างหาก) มีหลังสีน้ำเงินอมฟ้า และมีแถบสีดำแซม ท้องและอกสีส้มและขาว

นกกระเต็นหัวดำ (กะเต็นหัวดำ) ที่พบในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นนกอพยพ พบได้บ่อยช่วงฤดูหนาว ชอบเกาะตามที่สูง เช่นสายไฟฟ้า กิ่งไม้สูง เพื่อมองหาอาหารจำพวก แมลงขนาดใหญ่ ปลา และกบ เป็นต้น


Black-capped Kingfisher @ Bangkok Thailand

Sunday, November 10, 2013

นกจับแมลงจุกดำ (Black-naped Monarch)

นกจับแมลงจุกดำ
ชื่อภาษาอังกฤษ: Black-naped Monacrch; ชื่อวิทยาศาสตร์: Hypothymis azurea

นกจับแมลงจุกดำ @ สมุทรสาคร ประเทศไทย

นกจับแมลงจุกดำ กำลังออกจับแมลงตามต้นไม้ บริเวณป่าชายเลน จ.สมุทรสาคร ในภาพเป็น นกจับแมลงจุดดำตัวเมีย สำหรับนกจับแมลงจุกดำตัวผู้ จะมีลำตัวและหางเป็นสีฟ้าเข้ม และท้ายทอยจะมีหงอนสีดำสั้น ๆ

Black-naped Monarch @ Samut Sakhon Province, Thailand


นกกระเต็นอกขาว (White-throated Kingfisher)

นกกระเต็นอกขาว 
ชื่อภาษาอังกฤษ: White-throated Kingfisher; ชื่อวิทยาศาสตร์: Halcyon smyrnensis

นกกะเต็นอกขาว @ กรุงเทพ  ประเทศไทย

นกกระเต็นอกขาว พบได้ตามบริเวณแหล่งน้ำต่าง ๆ ทั่วทุกภาคของประเทศไทย  โดยเรามักจะพบเห็น นกกระเต็นอกขาว เกาะอยู่ตามกิ่งไม้ เพื่อรอโฉบปลาหรือสัตว์น้ำเล็ก ๆ ตามแหล่งน้ำนั้น ๆ


White-throated Kingfisher @ Bangkok, Thailand

Saturday, November 2, 2013

นกกาบบัว (Painted Stork)

นกกาบบัว  ชื่อภาษาอังกฤษ: Painted Stork; ชื่อวิทยาศาสตร์: Mycteria leucocephala


นกกาบบัว @ จ.ชลบุรี ประเทศไทย

นกกาบบัว
นกกาบบัว มีปากยาวสีเหลือง ปลายปากโค้งลง มีหัวสีแดงอมส้ม ลำตัวสีขาว แต่มีแถบสีดำพาดผ่านบริเวณลำตัวและปีก มีขาสีเหลืองปนสีแดง

นกกาบบัว มักจะออกหากินรวมกันเป็นกลุ่ม บริเวณแหล่งน้ำตื้น ๆ อาหารหลักคือปลาตัวเล็ก ๆ สำหรับการทำรังวางไข่นั้น นกกาบบัว จะสร้างรังบริเวณยอดของต้นไม้ใหญ่ มักจะอยู่รวมกับนกลุยน้ำ (Wading Bird) ชนิดอื่น ๆ 



Painted Stork @ Chonburi Province, Thailand

นกอีเสือหัวดำ (Long-tailed Shrike)

นกอีเสือหัวดำ  ชื่อภาษาอังกฤษ: Long-tailed Shrike; ชื่อวิทยาศาสตร์: Lanius schach

นกอีเสือหัวดำ @ จ.ชลบุรี ประเทศไทย

นกอีเสือหัวดำ
นกอีเสือหัวดำ มีหัวสีดำสมชื่อ มีหางที่ยาว และมีสีน้ำตาลอมส้มบริเวณข้างลำตัว

Long-tailed Shrike @ Chonburi Province, Thailand

เป็ดเทา (Spot-billed Duck)

เป็ดเทา  ชื่อภาษาอังกฤษ: Spot-billed Duck; ชื่อวิทยาศาสตร์: Anas poecilorhyncha

เป็ดเทา @ จ.ชลบุรี ประเทศไทย

เป็ดเทา
เป็ดเทาเป็นนกเป็ดน้ำขนาดใหญ่ ลำตัวสีน้ำเทา มีปลายปากสีเหลือง


Spot-billed Duck @ Chonburi Province, Thailand


Saturday, October 26, 2013

นกพญาไฟเล็ก (Small Minivet)

นกพญาไฟเล็ก  ชื่อภาษาอังกฤษ: Small Minivet; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pericrocotus cinnamomeus


นกพญาไฟเล็ก @ อยุธยา, ประเทศไทย

นกพญาไฟเล็ก
วันนี้ช่วงบ่าย ขณะเดินผ่านต้นไม้ใหญ่ ได้ยินเสียงนกร้องดังมาจากยอดไม้ มองขึ้นไปพบนกพญาไฟเล็ก ที่กำลังออกหาอาหารอยู่

นกพญาไฟเล็ก จะรวมตัวเป็นกลุ่มเล็กๆ ในการออกหาอาหาร โดยอาหารหลักคือแมลงที่อยู่ตามต้นไม้ ส่วนมากจะเห็น นกพญาไฟเล็ก บินหรือเกาะอยู่บริเวณยอดไม้สูง คอยจับกินแมลง


Small Minivet (Male) @ Ayutthaya province, Thailand
 
นกพญาไฟเล็ก ตัวผู้บริเวณอกจะมีสีส้มสดใส ต่างจากตัวเมียที่บริเวณอกจะเป็นสีเหลือง


Small Minivet (Male) @ Ayutthaya province, Thailand


นกกระเต็นใหญ่ธรรมดา (Stork-billed Kingfisher)

นกกระเต็นใหญ่ธรรมดา  ชื่อภาษาอังกฤษ: Stork-billed Kingfisher ; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pelargopsis capensis

นกกระเต็นใหญ่ธรรมดา @ กรุงเทพ, ประเทศไทย

นกกระเต็นใหญ่ธรรมดา
นกกระเต็นใหญ่ธรรมดาตัวนี้บินมาเกาะกิ่งไม้ห่างจากจุดที่ผมยืนประมาณ 30 เมตร เป็นนกกระเต็นที่มีขนาดใหญ่สมกับชื่อจริงๆ  มีปากสีแดงสด ปีกและหางสีฟ้าอมนำเงิน

Stork-billed Kingfisher @ Bangkok, Thailand

Saturday, August 17, 2013

นกจาบคาเล็ก (Green Bee-eater)

นกจาบคาเล็ก
ชื่อภาษาอังกฤษ: Green Bee-eater; ชื่อวิทยาศาสตร์: Merops orientalis

นกจาบคาเล็ก @ จ.ลพบุรี ประเทศไทย

นกจาบคาเล็ก
มีสีขนปกคลุมหัวเป็นสีส้ม ลำคอและหางเป็นสีเขียว มีแถบตาและแถบอกเป็นสีดำ และมีหางคู่กลางแหลมยาว (หางเข็ม) มองเห็นได้ชัด

วิธีการกินผึ้ง (Technique to Eat Bees)

เมื่อนกจาบคาจับผึ้งมาได้ ก็จะคาบผึ้งตัวนั้นไปถูกับวัตถุที่แข็ง เพื่อให้เหล็กใน (String) หลุดออก และให้พิษในถุง (Venom Sac) ไหลออกมา จากนั้นก็จะโยนผึ้งเข้าปาก นกจากคาส่วนใหญ่จะใช้วิธีการนี้ในการกินผึ้ง 

อาหาร
นกจาบคาเล็ก (Insectivorous bird) นอกจากจับผึ้งเป็นอาหารแล้ว ยังจับแมลงอื่น ๆ ที่บินในอากาศกินเป็นอาหารด้วย และช่วงเดือนนี้ของปี (สิงหาคม) พื้นที่บริเวณ จ.ลพบุรี เริ่มเห็นแมลงปอมากขึ้น จึงพบเห็นนกจากคาเล็กเยอะขึ้นตามไปด้วย นกจากคาเล็ก จะเกาะอยู่ตามแนวสายไฟ หรือตามต้นไม้ เพื่อรอโฉบจับแมลงปอที่บินในอากาศ เป็นอาหาร

Friday, August 2, 2013

นกสีชมพูสวน (Scarlet-backed Flowerpecker)

นกสีชมพูสวน 
ชื่อภาษาอังกฤษ: Scarlet-backed Flowerpecker; ชื่อวิทยาศาสตร์: Dicaeum cruentatum

นกสีชมพูสวน @ นนทบุรี ประเทศไทย

นกสีชมพูสวน เป็นนกที่มีขนาดเล็ก บินเร็ว และร้องเสียงแหลม (มาก) พบเห็นได้ทั่วไปตามพื้นที่สีเขียวต่าง ๆ ลักษณะเด่นของ นกสีชมพูสวน คือแถบขนสีแดงที่พาดตั้งแต่บริเวณหัวไปจนถึงหาง ซึ่งเป็นที่มาของชื่อในภาษาอังกฤษ (scarlet back)

Scarlet-backed Flowerpacker @ Nonthaburi Province, Thailand

Sunday, July 28, 2013

นกกระเต็นน้อยธรรมดา (Common Kingfisher)

นกกระเต็นน้อยธรรมดา
ชื่อภาษาอังกฤษ: Common Kingfihser; ชื่อวิทยาศาสตร์: Alcedo atthis

นกกระเต็นน้อยธรรมดา @ กรุงเทพ ประเทศไทย

นกกระเต็นน้อยธรรมดาตัวนี้ เกาะอยู่นิ่ง ๆ สักพัก จากนั้นก็พุ่งตัวลงในน้ำอย่างรวดเร็ว พอขึ้นจากน้ำก็ได้ปลาตัวนี้เป็นอาหาร

Common Kingfisher @ Bangkok Thailand
นกกระเต็นน้อยธรรมดา เป็นนกตัวเล็ก ๆ ที่มีสัดส่วนหัวใหญ่ ปากยาว แต่หางสั้น ขนบริเวณหัว ลำตัวด้านบน และปีก เป็นสีฟ้า ท้องเป็นสีส้ม อมน้ำตาล มีสายตาดีมาก มักจะเกาะอยู่นิ่ง ๆ บริเวณแหล่งน้ำ เพื่อหามองหาอาหาร จำพวกปลาตัวเล็ก ๆ

นกกระเต็นน้อยธรรมดา ที่พบในประเทศไทยมีสถานะเป็นนกอพยพ ที่หนีหนาวจากบริเวณตอนเหนือของทวีปยุโรปในช่วงฤดูหนาวมายังตอนใต้ของทวีปเอเชียที่อบอุ่นกว่า เราจึงพบเห็นนกกระเต็นน้อยธรรมดาได้บ่อยช่วงฤดูหนาว

Monday, July 22, 2013

เหยี่ยวแดง (Brahminy Kite)

เหยี่ยวแดง
ชื่อภาษาอังกฤษ: Brahminy Kite; ชื่อวิทยาศาสตร์: Haliastur indus

เหยี่ยวแดง @ จ.สมุทรปราการ ประเทศไทย

บริเวณป้อมพระจุลจอมเกล้า ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ต.แหลมฟ้าผ่า อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ นกนักล่า (Bird of Prey) ที่พบเห็นบ่อยมาก คือเหยี่ยวแดง

Brahminy Kite @ Samut Sakhon Province, Thailand

นอกจากบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว เหยี่ยวแดงยังพบเห็นได้ตามบริเวณริมชายฝั่งทะเลบางขุนเทียนไปจนถึง จ.สมุทรสาคร หยี่ยวแดงตัวนี้บินหาอาหารบริเวณชายฝั่งทะเล จ.สมุทรสาคร

Saturday, July 13, 2013

เหยี่ยวทุ่ง (Eastern Marsh Harrier)

เหยี่ยวทุ่ง
ชื่อภาษาอังกฤษ: Eastern Marsh Harrier; ชื่อวิทยาศาสตร์: Circus spilonotus

เหยี่ยวทุ่ง @ จ.สมุทรปราการ ประเทศไทย

ไปที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า ซึ่งอยู่บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา ต.แหลมฟ้าผ่า อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ บริเวณนี้มีนกนักล่า (Bird of Prey) ที่พบเห็นบ่อย ๆ คือเหยียวแดง และเหยี่ยวทุ่ง

At the mouth of the Chao Phraya River,  Eastern Marsh Harrier and Brahminy Kite are the most common birds of prey in this area.

Tuesday, July 9, 2013

นกช้อนหอยขาว หรือ นกกุลาขาว (Black-headed ibis)

นกช้อนหอยขาว หรือ นกกุลาขาว 
ชื่อภาษาอังกฤษ: Black-headed ibis; ชื่อวิทยาศาสตร์: Threskiornis melanocephalus

นกช้อนหอยขาว @ จ.ชลบุรี ประเทศไทย

นกช้อนหอยขาว (นกกุลาขาว) เป็นนกที่มีขนาดใหญ่ มี หัว ลำคอ และปากเป็นสีดำ ปลายปากโค้ง ลำตัวและปีกเป็นสีขาว มีขายาวสีดำ ตอนแรกที่เห็นนกคู่นี้ ผมคิดว่าเป็นนกยาง เพราะเห็นลำตัวและปีกเป็นสีขาว แต่พอสังเกตบริเวณ หัว ลำคอ ปาก อ้าว!!! เป็นสีดำ ไม่ใช่นกยาง ต้องเป็นนกช้อยหอยขาวแน่ รีบหยิบกล้องมาถ่ายแทบไม่ทัน

นกช้อนหอยขาว เป็นนกที่หายากและใกล้จะสูญพันธุ์จากธรรมชาติของประเทศไทยแล้ว โอกาสที่จะได้เห็นนกอาศัยอยู่ตามธรรมชาติจึงมีไม่มากนัก เมื่อก่อน (นานมาแล้ว) นกช้อนหอยขาว เคยอาศัยทำรังวางไข่ในบริเวณภาคกลางของประเทศไทย แต่ปัจจุบันนกที่พบในประเทศไทยนั้น เป็นนกที่อพยพมาจากประเทศอื่น ๆ (อินเดีย พม่า) เป็นส่วนใหญ่ โดยจะเข้ามาอาศัยในประเทศไทยช่วงฤดูหนาว และจะบินกลับเพื่อไปทำรังวางไข่

ที่ผ่านมาได้มีความพยายามในการฟื้นฟูสภาพป่า และมีการปล่อยนกหายากหลายชนิดกลับคืนสู่ธรรมชาติ และหนึ่งในนกหายากเหล่านั้น ก็มีนกช้อยหอยขาวรวมอยู่ด้วย ผมคิดว่านกที่ผมเห็นบินอย่างอิสระในธรรมชาติคู่นี้ น่าจะเป็นนกได้รับการปล่อยสู่ธรรมชาติแน่ครับ

Black-headed ibis Chonburi Province, Thailand

At least 60 Black-headed ibises and the other rare birds were reintroduced to this area in 2012. Black-headed ibises were once wildly distributed in, marsh area , central part of Thailand. Now most of them, found in Thailand, are just winter visitor. Few perhaps are those that are reintroduced. 

Friday, May 10, 2013

นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่ (Greater Racket-tailed Drongo)

นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่
ชื่อภาษาอังกฤษ: Greater Racket-tailed Drango; ชื่อวิทยาศาสตร์: Dicrurus paradiseus

นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่ @ จ.ชลบุรี ประเทศไทย
  
นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่ มีสีขนบริเวณลำตัวเป็นสีดำ หน้าผากมีหงอนขนสีดำเป็นกระจุกสั้นๆ และมีขนหางที่ยื่นยาวออกมาหนึ่งคู่  สำหรับนกแซงแซงหางบ่วงใหญ่ ในรูปพบว่าขนหางหายไปข้างหนึ่ง


Greater Racket-tailed Drongo @ Chonburi Province, Thailand

A Greater Racket-tailed Drango normally has a pairs of long-tail feathers but the bird in the picture has one long-tail missing.

Friday, April 26, 2013

นกนางแอ่นบ้าน (Barn Swallow)

นกนางแอ่นบ้าน 
ชื่อภาษาอังกฤษ: Barn Swallow; ชื่อวิทยาศาสตร์: Hirundo rustica

นกนางแอ่นบ้าน @ จ.ลพบุรี ประเทศไทย

นกนางแอ่นบ้านเกาะกิ่งไม้เพื่อหยุดพัก สลับกับการบินวนเพื่อจับแมลงตัวเล็ก ๆ ในอากาศ อย่างปราดเปรียว

A barn swallow settles down on the branch after circling in the air, catching small insects.  

Barn Swallow @ Lopburi Province, Thailand

การลดขอบม่วง (Cromatic Abberation)

การใช้โปรแกรม 
 Lightroom 4 ปรับขอบสีม่วง (Cromatic Abberation)

    1. คลิก Develop
    2. คลิก Lens Corrections
           2.1 คลิก Profile
                     2.1.1 เลือก Enable Profile Corrections
                     2.1.2 ตรง Setup เลือก Custom แล้วก็เลือกเลนส์ที่ใช้ หรือเลือก Auto
          2.2 คลิก Color
                     2.2.1 เลือก Remove Cromatic Abberation
                     2.2.2 เลื่อนปุ่ม Amount เพื่อปรับลดสีม่วง


(ไฟล์ภาพเป็น RAW ยิ่งปรับง่าย)

Sunday, March 31, 2013

นกนางนวลแกลบเคราขาว (Whiskered Tern)

นกนางนวลแกลบเคราขาว 
ชื่อภาษาอังกฤษ: Whiskered Tern; ชื่อวิทยาศาสตร์: Chlidonias hybrida

นกนางนวลแกลบเคราขาว @ จ.สมุทรสาคร ประเทศไทย

นกนางนวลแกลบเคราขาว (ภาพแรก) อยู่ในชุดขนฤดูผสมพันธุ์ (Breeding Plumage) สังเกตุจากขนบริเวณส่วนหัวและลำตัวด้านล่างจะเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีดำ ปากและขาจะเปลี่ยนจากสีดำเป็นสีแดง

Whiskered Tern @ Samut Sakhon Province, Thailand

นกนางนวลแกลบเคราขาวฝูงนี้กำลังบินวนเหนือพื้นน้ำจ้องมองหาอาหาร และเมื่อได้จังหวะก็จะพุ่งลงจับเหยื่อในน้ำ
 
Flies over a pond and then plunge-dives to catch prey.

Saturday, March 23, 2013

นกกระจิบหญ้าสีเรียบ (Plain Prinia)

นกกระจิบหญ้าสีเรียบ 
ชื่อภาษาอังกฤษ: Plain Prinia; ชื่อวิทยาศาสตร์: Prinia inornata

นกกระจิบหญ้าสีเรียบ เกาะดอกต้นคล้าน้ำ
Plain Prinia @ Bangkok Thailand

นกกระจิบหญ้าสีเรียบ ตัวนี้กำลังเพลินกับการดื่มน้ำหวานจากดอกของต้นคล้าน้ำ (ชื่อสามัญ: Hardy Water Canna, ชื่อวิทยาศาสตร์: Thalia dealbata) ซึ่งอยู่บริเวณหนองน้ำ ของสวนหลวง ร.9 ไม่เพียงแต่นกกระจิบหญ้าสีเรียบเท่านั้นที่ชื่นชอบน้ำหวานของดอกต้นคล้าน้ำ นกกินปลีอกเหลืองก็บินมาดื่มน้ำหวานด้วยเหมือนกัน

Many birds enjoy feeding on nectar from Water Canna flowers at Suanluang Rama IX, Bangkok, Thailand. 

นกกระจิบหญ้าสีเรียบ @ กรุงเทพ ประเทศไทย

นกกระจิบหญ้าสีเรียบ พบเห็นได้ทั่วไปในพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพฯ

Friday, March 22, 2013

นกตะขาบทุ่ง (Indian Roller)

นกตะขาบทุ่ง
ชื่อภาษาอังกฤษ: Indochinese Roller; ชื่อวิทยาศาสตร์: Coracias affinis
Coracias --> Indian Roller --> Indochinese Roller

นกตะขาบทุ่ง (C. affinis) @ จ.ชลบุรี ประเทศไทย

    เคยบ้างไหมครับ เวลาที่เราขับรถไปตามถนน เมื่อหันไปมองข้างทางแล้วเจอกับสุดหล่อ นกอะไรนะ ตัวสีฟ้าสดสะดุดตาสุดๆ มักจะเกาะอยู่ตามต้นไม้ หรือเสาไม้ที่ปักอยู่กลางทุ่ง หรือไม่ก็เกาะอยู่ตามสายไฟฟ้า ภาพนี้ก็เหมือนกันขณะที่ผมขับรถช้าๆ ก็เหลือบไปเห็นสุดหล่อเกาะบนตอไม้ข้างถนน หันไปปุ๊บก็รู้เลยว่าเป็นนกตะขาบทุ่งแน่ เพราะสีฟ้าสดขนาดนั้น คงไม่ใช่นกอย่างอื่นแน่ เลยจอดรถ ลดกระจก แล้วถ่ายภาพจากในรถเลย บอกได้เลยว่านกตะขาบทุ่งสายตาดีมาก การที่จะเดินซุ่มแอบเข้าถึงตัวนกในระยะใกล้ๆ เป็นเรื่องยากมาก นกตะขาบทุ่งจะเห็นก่อนและจะบินหนีทันทีเมื่อเราเข้าไปใกล้ แต่ถ้าอยู่ในรถนกตะขาบทุ่งจะมองดูท่าทีก่อนว่าเอาไงดี ทำให้มาโอกาสเข้าไปใกล้ได้อีกนิดนึง
    เคยพยายามหลายครั้งเมื่อเห็นนกตะขาบทุ่ง แล้วลงจากรถ เดินย่องอย่างเงียบๆ เพื่อจะเข้าไปให้ใกล้นกตะขาบทุ่งมากที่สุด แต่ก็ไม่เคยสำเร็จ เพราะนกตะขาบทุ่งเห็นก่อนทุกครั้ง และก็บินหนีไป สรุปว่านกสายตาดีกว่าคน แต่ถ้าอยู่ในรถนกตะขาบทุ่งจะให้เข้ามาในระยะใกล้อีกนิด โอกาสที่จะได้ภาพระยะไกล้จึงมีมากกว่า
    
นกตะขาบทุ่ง( C. affinis) @ กรุงเทพ ประเทศไทย

    นกตะขาบทุ่งเป็นนกที่หัวโต ปีกกว้าง แต่หางและขาดูจะสั้นไปหน่อย ส่วนสีไม่ต้องพูดถึง มีสีสวยมากแถมสีสดด้วย โดยเฉพาะสีฟ้าและสีน้ำเงินที่อยู่บริเวณลำตัว ปีก และหาง ปกตินกตะขาบทุ่งชอบเกาะอยู่ตามต้นไม้สูง ๆ หรือตามเสาไฟฟ้า แต่วันนี้โชคดีพบนกตะขาบทุ่งเกาะอยู่ตรงกิ่งไม้ที่ปักอยู่กลางท้องร่อง ในระดับที่ไม่สูงมาก อยากเข้าไปถ่ายใกล้กว่านี้ (ขอชัด ๆ สักรูป) แต่นกตะขาบทุ่งไม่ยอมให้ความร่วมมือ รีบบินหนีไปก่อน
    สำหรับอาหารหลักของนกตะขาบทุ่ง ส่วนใหญ่จะเป็นพวกแมลง โดยนกตะขาบทุ่งจะเกาะอยู่บนที่สูงเพื่อจ้องมองหาแมลงตามพื้น ก่อนที่จะบินโฉบลงมาจับแมลงไปกิน

Sunday, March 17, 2013

นกเด้าดินทุ่งเล็ก (Paddyfield Pipit)

นกเด้าดินทุ่งเล็ก
ชื่อภาษาอังกฤษ: Paddyfield Pipit; ชื่อวิทยาศาสตร์: Anthus rufulus

นกเด้าดินทุ่งเล็ก @ กรุงเทพ ประเทศไทย

ผมเห็นนกเด้าดินทุ่งเล็กกำลังเดินหาอาหารอยู่ในสนามฟุตบอล เลยเข้าไปถ่ายรูปมาให้ดูกันครับ


Paddyfield Pipit @ Bangkok, Thailand

Sunday, March 10, 2013

นกแว่นตาขาวสีทอง (Oriental White-eye)

นกแว่นตาขาวสีทอง
ชื่อภาษาอังกฤษ: Oriental White-eye; ชื่อวิทยาศาสตร์: Zosterops palpebrosus

นกแว่นตาขาวสีทอง @ สมุทรสาคร ประเทศไทย

นกแว่นตาขาวสีทอง มีลักษณะเด่นคือมีขนรอบดวงตาเป็นสีขาว และมีขนสีเหลืองแซมบริเวณอกถึงท้อง เป็นนกที่น่ารักจริง ๆ ตัวเล็ก ๆ ความยาวประมาณ 8-9 ซม. เท่านั้นเอง จากรูปด้านบนจะเห็นว่านกมีขนาดใกล้เคียงกับใบไม้  เรามักจะพบ นกแว่นตาขาวสีทอง อยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ขณะออกหาอาหาร (น้ำหวานและแมลงตัวเล็ก)

Oriental White-eye is a cute bird, especially its distinctive white eye-ring. I see them foraging in mangrove area at Samut Sakhon province, Thailand. 

Oriental White-eye @ Samut Sakhon, Thailand

ผมพบนกแว่นตาขาวสีทอง กลุ่มนี้ประมาณ 5-6 ตัวบินลงมาเล่นน้ำอย่างมีความสุข ในช่วงบ่ายที่ร้อนอบอ้าวของเดือนมีนาคม

During the summer (March 2013), a small group of Oriental White-eye (5-6 birds) perched on branches before flying down into water for having a bath to cool down.
 
นกแว่นตาขาวสีทอง (Oriental White-eye)

Saturday, March 2, 2013

นกกะรางหัวหงอก (White-Crested Laughingthrush)

นกกะรางหัวหงอก 
ชื่อภาษาอังกฤษ: White-crested Laughingthrush; ชื่อวิทยาศาสตร์: Garrulax leucolophus

นกกะรางหัวหงอก @ จ.ชลบุรี ประเทศไทย

วันนี้ผมไปที่ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำบางพระ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี (ใกล้ ๆ กับเขาเขียว) น่าไปเที่ยวมาก เพราะมีนกหลายชนิดอาศัยอยู่ เช่น นกกะรางหัวขวาน, นกกะรางหัวหงอก, นกกะเต็นอกขาว, และอีกมาก

นกกะรางหัวหงอก พบได้ทั่วไปในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำบางพระฯ เป็นนกมีสังคมชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงมากกว่าอยู่เพียงลำพัง หากินแมลงและสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ตามพื้นดิน รวมทั้งหนอนที่หลบซ่อนตัวบนต้นไม้ด้วย มักส่งเสียงร้องรับกันเป็นระยะเพื่อเตือนภัยให้กับฝูงของตัวเอง และนกชนิดอื่นที่อยู่ใกล้เคียง

[ข้อมูลนกกะรางหัวหงอก มาจากแผ่นป้ายแนะนำนก ของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำบางพระฯ]

White-crested Laughingthrush @ Chonburi Province, Thailand

ใกล้ชิด
นกกะรางหัวหงอกฝูงนี้กำลังหาอาหารอยู่ตามพื้นดิน (ประมาณ 4-5 ตัว) ระหว่างนั้น มีสุนัข (หมา) ตัวหนึ่งวิ่งผ่านมา นกนกกะรางหัวหงอกฝูงนี้เลยบินเข้าไปหลบในต้นไม้ใหญ่ เกาะบนกิ่งไม้อย่างที่เห็น รอจนกระทั้งหมาตัวนั้นผ่านไปแล้ว ก็ลงมาหาอาหารตามพื้นอีกครั้ง

Friday, March 1, 2013

นกยางโทนใหญ่ (Great Egret)

นกยางโทนใหญ่
ชื่อภาษาอังกฤษ: Great Egret; ชื่อวิทยาศาสตร์: Casmerodius albus

นกยางโทนใหญ่ @ จ.สมุทรปราการ ประเทศไทย

นกยางโทนใหญ่กับอาหารเย็น