Friday, December 28, 2012

นกกระเรียนหงอนพู่ (Crowned Crane)

นกกระเรียนหงอนพู่
ชื่อภาษาอังกฤษ: Crowned Crane; ชื่อวิทยาศาสตร์: Balearica regulorum

นกกระเรียนหงอนพู่ @ จ.ชัยนาท ประเทศไทย
 
นกกระเรียนหงอนพู่ มีสีขนปกคลุมหน้าผากเป็นสีดำ มีหงอนพู่สีทองเป็นลักษณะเด่น แก้มสีขาวมีจุดสีแดงปน ลำตัวส่วนใหญ่เป็นสีเทา ปีกสีขาว มีความสูงประมาณ 1 เมตร มีขาที่ยาวเหมาะสำหรับการเดินลุยผ่านุ่งหญ

มีถิ่นอาศัยอยู่ด้านทิศตะวันตกของทวีปแอฟริกา (savannah in Africa) บริเวณที่ลุ่มแฉะ (marshes) หรือพื้นที่เรียบที่มีทุ่งหญ้าปกคลุม ใกล้แม่น้ำหรือทะเลสาบ  กินเมล็ดพืชและพื แมลง กบ หนอน งู เป็นอาหาร

สถานะปัจจุบัน กำลัง เผชิญกับความเสี่ยงที่จะสูญพันธ์จากถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติ เนื่องจากปัญหาการระบายน้ำ (drainage) , ทุ่งหญ้าถูกสัตว์แทะเล็มมากเกิน (overgrazing), และมลพิษของยาฆ่าแมลง (Pesticide Pollution) ในบริเวณที่อยู่อาศัยของนกกระเรียนหงอนพู่

Crowned Crane @ Chainat Province Thailand

สวนนกชัยนาท (Chainat Bird Park)
มีโอกาสได้เดินทางผ่าน จ.ชัยนาท เลยแวะที่สวนนกชัยนาท ซึ่งมีกรงนกใหญ่พื้นที่ประมาณ 26 ไร่ เป็นแหล่งรวมนกที่หาดูยากในธรรมชาติหลายชนิด เช่น นกกระเรียนไทย นกยูง นกกระเรียนหงอนพู่ และนกอื่นๆ อีกมาก

Friday, December 21, 2012

นกเอี้ยงหงอน (White-vented Myna)

นกเอี้ยงหงอน
ชื่อภาษาอังกฤษ: White-vented Myna; ชื่อวิทยาศาสตร์: Acridotheres grandis

นกเอี้ยงหงอน @ จ.ลพบุรี ประเทศไทย
 
นกเอี้ยงหงอนเกาะบนดอกทานตะวันที่กำลังบาน ทั่วทุ่งทานตะวัน (Sunflower Field) จังหวัดลพบุรี  ดอกทานตะวันเริ่มบานตั้งแต่ พฤศจิกายน จนถึง มกราคม มีโอกาสอย่าลืมแวะไปเที่ยวนะครับ โดยเฉพาะทุ่งทานตะวัน เขาจีนแล ตำบลโคกตูม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี เป็นทุ่งทานตะวันที่ใหญ่และสวยงามมาก ห่างจากตัวเมืองลพบุรีประมาณ 10 กิโลเมตร เท่านั้นเอง

Wednesday, December 19, 2012

นกกินเปี้ยว (Collared Kingfisher)

นกกินเปี้ยว
ชื่อภาษาอังกฤษ: Collared Kingfisher; ชื่อวิทยาศาสตร์: Todiramphus chloris

นกกินเปี้ยว @ สมุทรสาคร ประเทศไทย

นกกินเปี้ยว
มีสีขนปกคลุมหัว หลัง ปีก และหางเป็นสีฟ้า ท้องและแถบรอบคอเป็นสีขาว ปากสีดำขนาดใหญ่ นกกินเปี้ยวพบได้ทั่วไปตามพื้นที่แนวชายฝั่งทะเล โดยเฉพาะบริเวณป่าชายเลน

นกกินเปี้ยวตัวนี้กำลังเกาะอยู่บนแนวไผ่ชลอคลื่น ที่ชาวบ้าน ต.โคกขาม อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ร่วมมือกันปักไว้เป็นแนวยาว เพื่อป้องกันไม่ให้คลื่นทะเลกัดเซาะแนวชายฝั่ง แนวไผ่ดังกล่าวช่วยป้องกันการกัดเซาะได้เป็นอย่างดี และยังช่วยเพิ่มตะกอนดินบริเวณหลังแนวไผ่อีกด้วย ซึ่งชาวบ้านโคกขามได้ร่วมมือกันปลูกป่าชายเลนเพิ่มเติมในบริเวณดังกล่าว เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่งให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น (เยี่ยมจริง ๆ ครับ)


บริเวณนี้ยังเป็นที่ตั้งของ ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 2 (จ.สมุทรสาคร) กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ทำหน้าที่คอยดูแลป่าชายเลนตั้งแต่จังหวัดฉะเฉิงเทรา สมุทรปราการ กรุงเทพฯ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม จนไปถึงจังหวัดเพชรบุรี  

Nikon V1 + FT1 + 300mm
กล้อง Nikon V1 เมื่อต่อกับ FT1 Adapter สามารถนำเลนส์  F-mouth มาต่อร่วมกันได้ มีข้อดีคือ จะทำให้ทางยาวโฟกัสของเลนส์เพิ่มขึ้นเป็น 2.7 เท่า เนื่องจากค่า Crop Factor ของกล้อง Nikon V1 เท่ากับ 2.7 และไม่กระทบต่อค่า F-number ของเลนส์ เพราะไม่มีการสูญเสียแสงใน FT1 Adapter

ภาพนี้ถ่ายด้วยกล้อง Nikon V1 + FT1 + TAMRON 70 - 300 VC Di USD 4.0-5.6 ที่ความยาวโฟกัส 300mm จึงทำให้ความยาวโฟกัส (Effective Focal Length) กลายเป็น 810mm (2.7 x 300mm)

Saturday, December 8, 2012

นกขมิ้นท้ายทอยดำ (Black-naped Oriole)

นกขมิ้นท้ายทอยดำ
ชื่อภาษาอังกฤษ:Black-naped Oriole; ชื่อวิทยาศาสตร์: Oriolus chinensis

นกขมิ้นท้ายทอยดำ @ กรุงเทพ ประเทศไทย

นกขมิ้นท้ายทอยดำ มีสีขนปกคลุมหัวและลำตัวสีเหลืองสด แถบคาดตาสีดำ ปากสีชมพู ส่งเสียงร้องดังมาก ๆ 

Black-naped Oriole @ Bangkok, Thailand

Wednesday, December 5, 2012

นกตีนเทียน (Black-winged Stilt)

นกตีนเทียน 
ชื่อภาษาอังกฤษ:(Black-winged Stilt; ชื่อวิทยาศาสตร์: Himantopus himantopus

นกตีนเทียน @ สมุทรสาคร ประเทศไทย

แหล่งดูนกชายเลนโคกขาม ( Khok Kham)
มีเวลาว่างและอยากดูนกชายเลน ต้องที่นี่เลยครับ แหล่งดูนกชายเลนโคกขาม ต.โคกขาม อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ใกล้ๆ กรุงเทพฯ นี่เอง โดยเฉพาะช่วงฤดูหนาว ที่นี่จะมีทั้งนกอพยพและนกประจำถิ่นอาศัยอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก ลองแวะเข้าไปเที่ยวนะครับ อย่างน้อยต้องได้เจอกับนกตีนเทียนออกหาอาหารกระจายอยู่ทั่วไปในบริเวณนั้น แต่ถ้าโชคดีอาจได้เจอกับ นกชายเลนปากช้อนนะครับ เป็นนกที่หาดูยากมาก...
 
Black-winged Stilt @  Samut Sakhon Province, Thailand

Sunday, October 21, 2012

นกอีเสือสีน้ำตาล (Brown Shrike)

นกอีเสือสีน้ำตาล
ชื่อภาษาอังกฤษ: Brown Shrike; ชื่อวิทยาศาสตร์: Lanius cristatus
 
นกอีเสือสีน้ำตาล @ จ.สมุทรปราการ, ประเทศไทย

ประสาทสัมผัสของนก (SENSES)
นกมีสายตาที่ยอดเยี่ยมมาก นกส่วนใหญ่สามารถมองเห็นสีในธรรมชาติได้ดีกว่ามนุษย์ สามารถมองเห็นสีที่มนุษย์มองไม่เห็น (invisible to the human eyes) สามารถเห็นรายละเอียดของวัตถุเล็ก ๆ ที่อยู่ไกลออกไป นอกจากจะมีสายตาที่ยอดเยี่ยมแล้ว ความสามารถในการรับฟังของนกก็ดีเลิศไม่น้อยไปกว่าการมองเห็น นกสามารถรับฟังและแยกแยะเสียงได้เป็นอย่างดี ยกเว้นก็แต่เพียงการรับรู้กลิ่นของนกเท่านั้นที่ไม่ค่อยดีนัก

Brown Shrike @ Samut Prakan Province, Thailand

Saturday, October 13, 2012

นกปากห่าง (Asian Openbill)

นกปากห่าง
ชื่อภาษาอังกฤษ: Asian Openbill; ชื่อวิทยาศาสตร์: Anastomus oscitans

นกปากห่าง @ กรุงเทพ, ประเทศไทย

ผมเคยถ่าย นกกระจาบทอง ได้ที่บึงนี้ เลยแวะไปอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ไม่เจอ พบแต่ นกปากห่าง กำลังมองหาอาหาร

Tuesday, September 4, 2012

นกจาบคาเล็ก (Green Bee-eater)

นกจาบคาเล็ก
ชื่อภาษาอังกฤษ: Green Bee-eater; ชื่อวิทยาศาสตร์: Merops orientalis

Green Bee-eater @ Lopburi Province, Thailand

นกจาบคาเล็ก
มีสีขนปกคลุมหัวเป็นสีส้ม ลำคอและหางเป็นสีเขียว มีแถบตาและแถบอกเป็นสีดำ และมีหางคู่กลางแหลมยาว (หางเข็ม) มองเห็นได้ชัด

วิธีการกินผึ้ง (Technique to Eat Bees)
เมื่อนกจาบคาจับผึ้งมาได้ ก็จะคาบผึ้งตัวนั้นไปถูกับวัตถุที่แข็ง เพื่อให้เหล็กใน (String) หลุดออก และให้พิษในถุง (Venom Sac) ไหลออกมา จากนั้นก็จะโยนผึ้งเข้าปาก นกจากคาส่วนใหญ่จะใช้วิธีการนี้ในการกินผึ้ง

นกจาบคา @ จ.ลพบุรี, ประเทศไทย

Green Bee-eater
This bird is neither Blue-tailed Bee-eater nor Chestnut-headed Bee-eater. It is Green Bee-eater.

Saturday, September 1, 2012

นกกระจิบหญ้าสีเรียบ (Plain Prinia)

นกกระจิบหญ้าสีเรียบ 
ชื่อภาษาอังกฤษ: Plain Prinia; ชื่อวิทยาศาสตร์: Prinia inornata

นกกระจิบหญ้าสีเรียบ @ กรุงเทพ, ประเทศไทย

นกกระจิบหญ้าสีเรียบ (Plain Prinia)
นกกระจิบหญ้าเกาะต้นธูปฤาษี (ชื่อภาษาอังกฤษ: Typha angustifolia, ชื่อวิทยาศาสตร์: Typha angustifolia)

Plain Prinia
Typha angustifolia is a perfect habitat for Plain Prinia.

Plain Prinia @ Bangkok, Thailand

นกเกาะคอน (Passerines or Perching Birds)
ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ ของนกในโลกนี้ ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของนกเกาะคอน นกกระจิบหญ้าสีเรียบก็เป็นหนึ่งในกลุ่มของนกเกาะคอนเช่นกัน นกในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นนกที่มีขนาดเล็ก อาศัยบริเวณป่าหรือพุ่มไม้ โดยเกาะตามกิ่งก้านของต้นไม้เหล่านั้น 

นกในกลุ่มนี้จะมีเสียงร้องที่สดใส เลยมักถูกเรียกอีกชื่อว่า Songbirds โดยอวัยวะที่ใช้ในการกำเนิดเสียงของนกมีชื่อว่า Syrinx ทำหน้าที่สร้างเสียงร้องที่สดใสและซับซ้อน เพื่อใช้ประกาศพื้นที่อยู่อาศัยของตนเอง และใช้ในการร้องเรียกคู่ โดยทั่วนกที่ร้องเพลงจะเป็นตัวผู้ แต่ในบางพันธุ์จะร้องเป็นคู่ทั้งตัวผู้และตัวเมีย

Saturday, August 25, 2012

นกกระจาบทอง (Asian Golden Weaver)

นกกระจาบทอง 
ชื่อภาษาอังกฤษ: Asian Golden Weaver; ชื่อวิทยาศาสตร์: Ploceus hypoxanthus

นกกระจาบทอง @ กรุงเทพ, ประเทศไทย

ทุ่งน้ำกำลังลดลง
วันนี้ขณะขับรถผ่านหนองน้ำ โชคดีมากที่ได้เห็น นกกระจาบทอง สองตัวเกาะอยู่ตรงพงหญ้าสูงในหนองน้ำนั้น บริเวณทุ่งน้ำในภาคกลาง (กรุงเทพฯ ด้วย) เป็นถิ่นอาศัยของนกกระจาบทอง แต่ปัจจุบันทุ่งน้ำกำลังลดลงเรื่อย ๆ ต่อไปก็คงหาดู นกกระจาบทอง ได้ยากแน่เลย

Asian Golden Weaver @ Bangkok, Thailand

Near Threatened
Driving around a swamp, I see Asian Golden Weavers perching in reeds close to their nests. Their habitats are swamps and wetland especially in central region of Thailand. At the present they are losing their habitats. In the future, it would be difficult to see them.

Thursday, August 23, 2012

นกปรอดเหลืองหัวจุก (Black-crested Bulbul: P.m. Johnsoni)

นกปรอดเหลืองหัวจุก 
ชื่อภาษาอังกฤษ: Black-crested Bulbul; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pycnonotus flavientris
 
นกปรอดเหลืองหัวจุก @ จ.นครนายก ประเทศไทย

นกปรอดเหลืองหัวจุก ตัวที่ปรากฎในภาพเป็นชนิดย่อย P.m. Johnsoni สังเกตุที่คอจะมีขนสีแดง


Black-Crested Bulbul @ Naknon Nayok Province, Thailand

Tuesday, July 31, 2012

Western Gull

นกนางนวล
ชื่อภาษาอังกฤษ: Western Gull; ชื่อวิทยาศาสตร์: Larus occidentalis

Western Gull @ Lover Point, Monterey, CA

ตอนที่เดินทางไปประเทศสหรัฐฯ มีโอกาสได้แวะไปที่ Lover Point, Monterey, CA อีกครั้ง เลยไม่พลาดที่จะถ่ายรูปนกนางนวลที่อยู่บริเวณนั้นมาให้ดูครับ

Western Gull @ Lover Point, Monterey, CA
 
A Western Gull stands on one leg.

Brown Pelican

นกพิลิแกนสีน้ำตาล 
ชื่อภาษาอังกฤษ: Brown Pelican; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pelecanus occidentalis

Brown Pelican @ Monterey, California

Saturday, June 30, 2012

นกกระเต็นอกขาว (White-throated Kingfisher)

นกกระเต็นอกขาว 
ชื่อภาษาอังกฤษ: White-throated Kingfisher; ชื่อวิทยาศาสตร์: Halcyon smyrnensis

นกกะเต็นอกขาว @ จ.สุราษฎร์ธานี  ประเทศไทย

นกกระเต็นอกขาว เกาะอยู่บนไม้ไผ่บริเวณใกล้กับหนองน้ำ เป็นนกที่พบได้ทั่วไปในบริเวณ อ.พระแสง จ.สุราษฏร์ธานี

White-throated Kingfisher @ Surat Thani, Thailand

White-throated Kingfisher
A White-throated Kingfisher perches on old bamboo looking for fish in swamp. This kind of bird is commonly seen in Surat Thani Province, Thailand. 

Sunday, May 27, 2012

ลูกนกกระแตแต้แว้ด Red-Wattled Lapwing Chick

นกกระแตแต้แว้ด 
ชื่อภาษาอังกฤษ: Red-Wattled Lapwing; ชื่อวิทยาศาสตร์: Vanellus indicus

ลูกนกกระแตแต้แว้ด @ กรุงเทพ, ประเทศไทย

ลูกนกกระแตแต้แว้ด ซนมากเดินหนีแม่


Red-Wattled Lapwing Chick @ Bangkok, Thailand

Red-Wattled Lapwing
Red-Wattled Lapwing chicks are running on a soccer field.

Monday, May 7, 2012

นกแก้วโม่ง (Alexandrine Parakeet)

นกแก้วโม่ง 
ชื่อภาษาอังกฤษ: Alexandrine Parakeet; ชื่อวิทยาศาสตร์: Psittacula eupatria

นกแก้วโม่ง @ จ.ชลบุรี ประเทศไทย
  
นกแก้วโม่ง สีสันสวยงาม

Alexandrine Parakeet @ Chonburi Province, Thailand

ไก่ฟ้าหลังขาว (Silver Pheasant)

ไก่ฟ้าหลังขาว
ชื่อภาษาอังกฤษ: Silver Pheasant; ชื่อวิทยาศาสตร์: Lophura nycthemera

ไก่ฟ้าหลังขาว @ จ.ชลบุรี ประเทศไทย

ไก่ฟ้าหลังขาว 
มีขนสีขาวปกคลุม หลัง ปีก และหาง  ขนสีดำปกคลุม อกและลำตัว (ส่วนล่าง) ใบหน้าสีแดงลักษณะเหมือนแผ่นหนังปกคลุม มีหงอนสีดำโค้งยาวไปด้านหลัง มีขาและเท้าเป็นสีชมพู

ไก่ฟ้าหลังขาว เป็นพันธุ์ไก่ฟ้า (Pheasant) ที่พบอยู่ในบริเวณป่า โดยเฉพาะแถบภูเขาของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือทางภาคตะวันออกและภาคใต้ของประเทศจีน ในประเทศไทยพบได้บริเวณ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก

Silver Pheasant @ Chonburi Province, Thailand

Silver Pheasant
In Thailand, Silver Pheasants are found in the North, the Northeast, the East, and the West. 

Sunday, April 22, 2012

นกเด้าลมดง (Forest Wagtail)

นกเด้าลมดง
ชื่อภาษาอังกฤษ: Forest Wagtail; ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendronanthus indicus

นกเด้าลมดง @ จ.สมุทรปราการ, ประเทศไทย

นกเด้าลมดง (Forest Wagtail)
นกเด้าลมดง มีถิ่นที่อยู่ในประเทศ จีน เกาหลี และบางส่วนของไซบีเรีย ในช่วงฤดูหนาวนกเด้าลมดงจะอพยพหนีหนาวมายังบริเวณที่อบอุ่นกว่า บริเวณตอนใต้ของทวีปเอเชีย เช่นประเทศอินเดีย ศรีลังกา และประเทศอื่น ๆ โดยนกจะเริ่มอพยพลงใต้ช่วงเดือน กันยายน-ตุลาคม ของทุกปี และจะอยู่จนถึงประมาณกลางเดือนเมษายน ก็จะอพยพกลับ

นกเด้าลมดง ที่พบในประเทศน่าจะเป็นได้ทั้ง นกอพยพ (Winter visitor) หรือนกที่อพยพผ่าน (Passage migrant) โดยพบจะพบประมาณเดือนกันยายน-ตุลาคม (ช่วงขาลง) ถึงเดือนเมษายน (ช่วงขาขึ้น) ของทุกปี ตามสวนสาธารณะหรือตามป่าโปร่ง

ลักษณะเด่นของนกเด้าลมดงคือจะเดินส่ายหางขวา-ซ้าย และเดินอย่างรวดเร็ว พร้อมที่จะวิ่งหรือบินได้ทันที (ไม่ค่อยอยู่นิ่ง) ทำให้การถ่ายภาพนกชนิดนี้จะต้องอาศัยความรวดเร็วครับ  

Forest Wagtail @ Sumut Prakan Province, Thailand

Sunday, April 15, 2012

นกนางนวลแกลบเล็ก (Little Tern)

นกนางนวลแกลบเล็ก
ชื่อภาษาอังกฤษ: Little Tern; ชื่อวิทยาศาสตร์: Sternula albifrons

นกนางนวลแกลบเล็ก @ จ.ประจวบคีรีขันธ์, ประเทศไทย

เล่นน้ำกันอย่างสนุก
ไปเที่ยวหัวหินช่วงวันหยุดสงกรานต์ ระหว่างรอลงเล่นน้ำทะเล ได้ยินเสียงนกร้อง มองลงไป เห็นนกนางนวลแกลบเล็ก (Little Tern) 3 ตัว กำลังเล่นน้ำอยู่ที่ชายหาดกันอย่างสนุก เลยได้โอกาสเข้าไปเก็บภาพใกล้ ๆ

Little Tern @ Prachuap Khiri Khan Province, Thailand

ระยะทางห่างหมื่นไมล์     ออกบินไปคงต้องถึง

Little Tern @ Prachuap Khiri Khan Province, Thailand

Little Tern
Little Tern in flight at Hua Hin Beach.

Saturday, April 14, 2012

นกกาน้ำเล็ก (Little Cormorant)

นกกาน้ำเล็ก
ชื่อภาษาอังกฤษ: Little Cormorant; ชื่อวิทยาศาสตร์: Microcarbo niger

นกกาน้ำเล็ก @ จ.สมุทรปราการ, ประเทศไทย

นกที่พบป้อมพระจุลจอมเกล้า
  1. นกกินเปี้ยว (Collared Kingfisher)
  2. นกกระเต็นหัวดำ (Black-capped Kingfisher)
  3. นกกาน้ำเล็ก (Little Cormorant)
  4. นกยางเปีย (Little Egret)
  5. นกเด้าลมดง (Forest Wagtail) 

Little Cormorant @ Samut Prakan Province, Thailand

นกนางแอ่นบ้าน (Barn Swallow)

นกนางแอ่นบ้าน
ชื่อภาษาอังกฤษ: Barn Swallow; ชื่อวิทยาศาสตร์: Hirundo rustica

นกนางแอ่นบ้าน @ กรุงเทพ, ประเทศไทย

นกนางแอ่นบ้าน เกาะพักผ่อนบนสายไฟฟ้า

Barn Swallow @ Bangkok, Thailand

นกยางเปีย (Little Egret)

นกยางเปีย
ชื่อภาษาอังกฤษ: Little Egret; ชื่อวิทยาศาสตร์: Egretta garzetta

นกยางเปีย @ สมุทรปราการ, ประเทศไทย

นกยางเปียถ่ายที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณป้อมพระจุลจอมเกล้

Little Egret @ Samut Prakan Province, Thailand
 

Saturday, April 7, 2012

นกกระจิบหญ้าสีเรียบ (Plain Prinia) April 2012

นกกระจิบหญ้าสีเรียบ 
ชื่อภาษาอังกฤษ: Plain Prinia; ชื่อวิทยาศาสตร์: Prinia inornata

นกกระจิบหญ้าสีเรียบ @ กรุงเทพม, ประเทศไทย

นกกระจิบหญ้าสีเรียบ
ได้ยินเสียงนกกำลังร้องเพลง (เพราะมาก) เลยเดินไปตามทิศของเสียงร้องนั้น ก็พบกับเจ้าของเสียงร้อง นกกระจิบหญ้าสีเรียบ นกตัวเล็ก ๆ ที่มีน้ำเสียงสดใสไม่ธรรมดา

Plain Prinia @ Bangkok, Thailand

Friday, April 6, 2012

นกขมิ้นน้อยธรรมดา (Common Iora) และ กำลังขยายของเลนส์ถ่ายภาพ (Magnification)

นกขมิ้นน้อยธรรมดา
ชื่อภาษาอังกฤษ: Common Iora; ชื่อวิทยาศาสตร์: Aegithina tiphia

1. กำลังขยายของเลนส์ถ่ายภาพ (Magnification)

กำลังขยายของเลนส์ (Magnification) คือความสามารถในการดึงภาพวัตถุระยะไกลให้ดูเหมือนอยู่ในระยะไกล้ขึ้น เช่น กล้องส่องทางไกล (Telescope) หรือ กล้องสองตา (Binoculars) จะระบุกำลังขยายเป็นจำนวนเท่า เช่น กล้องสองตาขนาด 10x (10 เท่า) เมื่อนำมาดูนกเกาะอยู่ห่างออกไป 100 เมตร ก็จะเห็นเหมือนว่านกตัวนั้นอยู่ห่างเพียงแค่ 10 เมตร (100 ÷ 10 = 10) แต่ถ้าเราใช้กล้องสองตาขนาด 25x (25 เท่า) ก็จะเห็นเหมือนกับนกอยู่ห่างเพียงแค่ 4 เมตร (100 ÷ 25 = 4) 

นกขมิ้นน้อยธรรมดา @ กรุงเทพ,ประเทศไทย
2. กำลังขยายของเลนส์ถ่ายภาพ (Magnification) เมื่อใช้กับกล้องแบบ FX 

สำหรับเลนส์กล้องถ่ายภาพ ไม่ได้ระบุกำลังขยายโดยตรงเหมือนกับกล้องส่องทางไกล (Telescope) หรือ กล้องสองตา (Binoculars) แต่จะระบุเป็นระยะโฟกัส (Focal length) เช่นเลนส์ขนาด 300mm, 400mm, หรือ 500mm อย่างไรก็ตามเราสามารถหากำลังขยายของเลนส์ได้ โดยการนำระยะโฟกัสของเลนส์ตัวนั้นมาหารด้วย 50 

เช่น เลนส์ขนาด 400mm จะมีกำลังขยายประมาณ 8x (400 ÷ 50 = 8) ดังนั้น ถ้านำเลนส์ตัวนี้ไปถ่ายนกที่เกาะห่างออกไป 100 เมตร ก็จะเห็นเหมือนกับว่านกอยู่ห่างจากเรา 12.5 เมตร (100 ÷ 8 = 12.5)

แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นเลนส์ขนาด 500mm ก็จะมีกำลังขยายประมาณ 10x (500 ÷ 50 = 10) ถ้านำไปถ่ายนกที่เกาะห่างออกไป 100 เมตร ก็จะเห็นเหมือนกับว่านกอยู่ห่างจากเรา 10 เมตร (100 ÷ 10 = 10) 

สำหรับเลข 50 ที่ใช้ในการหากำลังขยายของเลนส์ นั้น ได้มาจากขนาดเส้นทแยงมุม (Diagonal) ของเซ็นเซอร์รับภาพแบบ Full-frame (24mm x 36 mm) ซึ่งมีขนาดเส้นทแยงมุมเท่ากับ 43.2 มม.
 
สรุป เลนส์ที่มีความยาวโฟกัส (Focal length) มากขึ้น จะกำลังขยายของเลนส์ (Magnification) มากขึ้นด้วย
3. กำลังขยายของเลนส์ถ่ายภาพ (Magnification) เมื่อใช้กับกล้องแบบ DX

สำหรับเซ็นเซอร์กล้องแบบ DX ที่ผมใช้เซ็นเซอร์รับภาพเป็นแบบ APS-C (Advanced Photo System Classic Format) มีขนาด 15.6mm x 23.5 mm ซึ่งมีขนาดเส้นทแยงมุม 28.2 มม. เล็กกว่าเซ็นเซอร์แบบ Full-frame 

ดังนั้น ถ้าใช้เลนส์ขนาด 400mm กับกล้องตัวนี้ พบว่าจะได้กำลังขยายประมาณ 14x (400 ÷ 28.2 = 14.1) ถ้าถ่ายนกที่อยู่ห่างออกไป 100 เมตร ก็จะเห็นเหมือนว่านกอยู่ห่างเพียง 7.05 เมตร (100 ÷ 14 = 7.05)

แต่ถ้าเราเปลี่ยนเป็นเลนส์ขนาด 500mm ก็จะมีกำลังขยายประมาณ 18x (500 ÷ 28.2 = 17.7) ดังนั้น ถ้าถ่ายนกที่อยู่ห่างออกไป 100 เมตร ก็จะเห็นเหมือนว่านกอยู่ห่างเพียง 5.6 เมตร (100 ÷ 17.7 = 5.6) 

จะเห็นได้ว่ากล้องแบบ DX ที่มีเซ็นเซอร์รับภาพแบบ APS-C เส้นทแยงมุม 28.2 มม. จะมีกำลังขยาย (Magnification factor) มากว่ากล้องแบบ FX ที่มีเซ็นเซอร์รับภาพแบบ Full-Frame เส้นทแยงมุมของเซ็นเซอร์ 43.2 มม. โดยกำลังขยายของกล้องแบบ DX จะมากว่ากล้องแบบ FX ประมาณ 43.2 ÷ 28.2 = 1.5 เท่า

สรุป เลนส์ที่มีความยาวโฟกัส (Focal length) เท่ากัน ถ้าใช้กับเซ็นเซอร์รับภาพที่มีขนาดเล็กกว่า จะกำลังขยายของเลนส์ (Magnification) มากกว่า

4. เมื่อนำภาพมาขาย

เมื่อเรานำภาพนกที่ถ่ายจากกล้อง DX กับเลนส์ขนาด 400 มม. มาขยายเป็นภาพขนาดสูง 4 นิ้ว กว้าง 6 นิ้ว (4” x 6”) หรือ (102 mm x 152 mm) เท่ากับเราขยายภาพจากเซ็นเซอร์รับภาพที่มีขนาด (15.6mm x 23.5 mm) ไปอีก 6.5 เท่า (102 ÷ 15.6 = 6.5 และ 152 ÷ 23.5 = 6.5) ดังนั้นภาพนกบนรูปขนาด (4” x 6”) จะเหมือนว่านกอยู่ห่างจากเรา 1.07 เมตร (7.05 ÷ 6.5 = 1.07)
 


Common Iora @ Bangkok, Thailand
Common Lora
In the morning, this Common Iora flies very close to me and perch close by.
นกขมิ้นน้อยธรรมดา ตัวนี้บินเข้ามาเกาะกิ่งไม้ใกล้มาก ๆ แถมยังใจดีอยู่ให้ถ่ายจนครบทุกมุม